วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์



การสื่อสารข้อมูล
การติดต่อสื่อสารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่มากับมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยใช้ภาษาเป็นสื่อในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ซึ่งปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลมีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น มีการส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจเพื่อการพัฒนา และสามารถใช้เทคโนโลยีสำหรับการติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งต้นทางกับผู้รับปลายทาง ทั้งข้อมูลประเภท ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือข้อมูลสื่อผสม โดยผู้ส่งต้นทางส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า (Electronic data) จากนั้นถึงส่งไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ปลายทาง
 
1. ผู้ส่ง เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารออกไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ซึ่งอาจเป็น
บุคคลหรืออุปกรณ์ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เป็นต้น
2. ข้อมูลข่าวสาร เป็นสิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปให้ผู้รับที่อยู่ปลายทางซึ่งอาจเป็นเสียง ข้อความหรือภาพ เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
3.สื่อกลาง หรือช่องทางการสื่อสาร เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้โดยสะดวก ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้
* สายสัญญาณชนิดต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายเคเบิล เส้นใยแก้วนำแสง เป็นต้น
* คลื่นสัญญาณชนิดต่างๆ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นแสง คลื่นอินฟราเรด
* อุปกรณ์เสริมชนิดต่างๆ เช่น เสาอากาศวิทยุ เสาอากาศโทรศัพท์ ดาวเทียม โมเด็ม
4.ผู้รับ เป็นสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่ง ซึ่งส่งผ่านสื่อกลางชนิดต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น
การที่จะส่งข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งที่กล่าวมาแล้วไม่ได้ และต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์และวิธีการให้เหมาะสมกับลักษณะงาน
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ชนิดของการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้รับกับผู้ส่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1. การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการติดต่อสื่อสารเพียงทิศทางเดียว คือผู้ส่งจะส่งข้อมูลเพียงฝั่งเดียวและโดยฝั่งรับไม่มีการตอบกลับ เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ การส่ง e-mail เป็นต้น
2. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission)
สามารถส่งข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ไปในทิศทางเดียวเท่านั้น ทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ส่ง    สามารถส่งข้อมูลไปให้แก่ผู้รับ ส่วนผู้รับก็สามารถโต้ตอบกลับได้ แต่ไม่สามารถส่งสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่นการส่งวิทยุของตำรวจ
3. การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission)
สามารถส่งข้อมูลในเวลาใดเวลาหนึ่ง ได้ทั้ง2ทิศทาง ทั้งฝ่ายส่งและฝ่ายรับ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ผู้ส่งและผู้รับ สามารถโต้ตอบสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การส่งสัญญาณโทรศัพท์ สนทนา msn , feaebook
 ประเภทของสัญญาณ
ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปสัญญาณทางไฟฟ้า ซึ่งสามารถจำแนกสัญญาณได้ 2 ลักษณะ
1. สัญญาณแบบดิจิทัล(Digitals signal)
เป็นสัญญาณที่ถูกแบ่งเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง (Discrete) โดยลักษณะของสัญญาณจะแบ่งออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต 0 และสถานะของบิต 1 โดยแต่ละสถานะคือ การให้แรงดันทางไฟฟ้าที่แตกต่างกัน การทำงานในคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณดิจิทัล
 
2. สัญญาณอนาลอก(Analog Signal)
เป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความต่อเนื่องของสัญญาณ โดยไม่เปลี่ยนแปลงแบบทันที่ทันใดเหมือนกับสัญญาณดิจิทัล เช่น เสียงพูด หรืออุณหภูมิในอากาศเมื่อเทียบกับเวลาที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
 
ตาราง พัฒนาการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.
เทคโนโลยี
รายละเอียด
2380
โทรเลข (telegram)
เป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบแรก ประดิษฐ์ขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการส่งข่าวสาร
2453
เครื่องโทรพิมพ์ (teleprinter)
เป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบเดียวกับโทรเลข แต่สามารถพิมพ์ข้อความที่ได้รับลงกระดาษได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปชื่อ เทเล็กซ์(TELEX) ส่วนใหญ่ในอเมริกาเรียกว่า TWX
2487
มาร์ค 1 คอมพิวเตอร์
(Mark I- Computer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก สร้างโดยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้หลอดสุญญากาศ ซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย
2503
ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของสหรัฐอเมริกา (first U.S.satellite)
ชื่อว่า เอคโค 1 (Echo 1) ถูกสร้างขึ้นเพื่อการทดสอบระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมเท่านั้น ซึ่งดาวเทียมเป็นโลหะมีรูปทรงกลม สามารถสะท้อนคลื่นไมโครเวฟที่ส่งมาจากจุดใดจุดหนึ่งบนพื้นโลกไปยังอีกจุดหนึ่งได้
2513
เลเซอร์ (laser)
คิดค้นโดย ทีโอดอร์ ไมแมน (Theodore Maiman) ที่สถาบันวิจัย ฮิวจ์ (Hughes Research Labaratories)เป็นลำแสงขนานที่มีความเข้มสูง และมีความยาวคลื่นที่ตายตัว ซึ่งในช่วงแรกของการวิจัยมีแนวโน้มเพื่อนำไปใช้ทางการทหาร
2514
อีเมล (e-mail)
มีการทดลองส่งครั้งแรกในเครือข่ายโดยเรย์ ทอมลินสัน(Ray Tomlinson)
2515
อีเทอร์เน็ต (thernet)
บริษัท ซีร็อกซ์ (Xerox) ได้สร้างมาตรฐานสำหรับการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) ขึ้น ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่เป็นมาตรฐานหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด

2519
พีซี (personal computer:PC)
คิดค้นขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไป สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกสบาย
2526
อินเทอร์เน็ต (Internet)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยกันทั่วโลก โดยเครือข่ายดังกล่าวจะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกัน แม้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมภายในเครือข่ายดังกล่าวอาจจะแตกต่างชนิดหรือต่างขนาดกันก็สามารถสื่อสารกันได้
2527
เซลลูลาร์(cellular)
ระบบโทรศัพท์ไร้สายแบบเซลลูลาร์ได้เข้ามาแทนที่ระบบโทรศัพท์ไร้สายแบบใช้คลื่นวิทยุ
2533
ปรับปรุงระบบอาร์พาเน็ต(ARPANET Reorganization)
เครือข่ายอาร์พาเน็ตถูกยกเลิกและถูกแทนที่ด้วยระบบเครือข่ายไร้สายระดับชาติ
2535
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wild Web)
เป็นการบริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext)ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน
2541
โทรทัศน์แบบ HDTV
เป็นโทรทัศน์ที่มีความละเอียดสูง ให้ภาพคมชัดมากกว่าปกติ เริ่มจำหน่ายครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
2543
ระบบสื่อสารแบบไร้สาย(wireless technology)
ระบบสื่อสารแบบไร้สายเริ่มเข้ามามีส่วนแบ่งทางการตลาดมากขึ้น
2545
ระบบสื่อสารแบบบรอดแบนต์(broadband access)
บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีAsymmetric Digital Subscriber Line (ADSL) นั่นคือ การสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงบนข่ายสายทองแดง หรือคู่สายโทรศัพท์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามการเชื่อมโยงได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้
1.ครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น เช่น Bluetooth ตัวอย่าง เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง PDA กับ Desktop โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น
- PDA ย่อมาจาก Personal Digital Assistant หมายถึง คอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กเท่าฝ่ามือ มีโปรแกรมพื้นฐาน เช่น Spread Sheet ต่างๆ ช่วยจดบันทึก และการนัดหมายต่างๆ (Palm)
เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps)
 

2.เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในอง๕การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย
 

3.เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยง
แลนที่อยู่ห่างกัน เช่น ระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาหาร ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสงสายโคแอกเชียล หรืออาจใช้คลื่นไมโครเวฟ
 

4. เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น
 

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อกันโดยตรงได้ ดังนั้น จึงต้องการมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง และกำหนดมาตรฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
1.โพรโทคอล (protocol) คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ โพรโทคอลนี้เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ต่างๆ ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและการรับข้อมูล การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น จะเห็นได้กว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลแล้ว การสื่อสารบนเครือข่ายคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ในปัจจุบันการทำงานของเครือข่ายใช้มาตรฐานโพรโทคอลต่าง ๆ ร่วมกันทำงานมากมาย นอกจากโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโพรโทคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท ตัวอย่างเช่น
- โพรโทคอลเอชทีทีพี (Hyper Tex Transfer Protocol : HTTP) เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hyper Text Markup Language : HTML) ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บกับเครื่องแม่ข่าย (web server) โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี (Transfer Control Protocol : TCP)
-โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transfer Control Protocol/Internet Protocol : TCP/IP) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านไปทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลใหม่
-โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol : SMTP) คือ โพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) หรืออีเมล (Email) ไปยังจุดหมายปลายทาง

-บลูทูท (Bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย เพื่อได้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก
 

อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น จะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ (network device) ซึ่งทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็นสื่อกลางแบบใช้สาย และสื่อกลางแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีดังนี้

1.เครื่องทวนสัญญาณ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสายสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ ได้ ดังนั้น การใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยสัญญาณไม่สูญหาย
 

2.ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่อยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น
 

3.บริดจ์ (bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลตัวเดียวกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนสัญญาณ คือ สามารถกรองข้อมูลที่จะส่งต่อได้ โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นมีปลายทางอยู่ที่ใด หากเครื่องปลายทางอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไปยังเครือข่ายอื่น แต่หากข้อมูลมีปลายทางอยู่ที่เครือข่ายอื่น ก็จะส่งข้อมูลไปในเครือข่ายที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 

4.อุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า ตรงที่สามารถหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล (data packer) ไปยังเครื่องปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้
 

5.สวิตช์ (switch) นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ เพราะสวิตช์จะทำหน้าที่รับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งช่วยลดปัญหาการชนหรือความคับคั่งของข้อมูล
 
6.เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม เนื่องจากเกตเวย์สามารถแปลงรูปแบบแพ็กเก็ตของโพรโทคอลหนึ่งไปเป็นรูปแบบของอีกโพรโทคอลหนึ่งได้ เพื่อให้เหมาะสามกับการใช้งานในเครือข่าย ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แต่ในปัจจุบันนี้ได้รวมการทำงานของเกตเวย์ไว้ในอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) แล้ว ทำให้อุปกรณ์จัดเส้นทางสามารถทำงานเป็นเกตเวย์ได้ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเกตเวย์อีก
 

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้
1.เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบใช้สาย แบ่งออกตามชนิด
ของสายสื่อสารได้ 3 ชนิด ดังนี้
-สายตีเกลียวคู่ (twisted pair cable) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้น ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอก เนื่องจากสายตีเกลียวคู่นี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยทั่วไปใช้สำหรับส่งข้อมูลดิจิทัล สามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดีจึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง สายตีเกลียวคู่มี 2 ชนิด ดังนี้
1. แบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
2. แบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)

1.สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP : Unshielded Twisted Pair)
สาย UTP เป็นสายที่พบเห็นกันมาก มักจะใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับสายประเภทนี้จะมีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร และสาย UTP มีจำนวนสายบิดเกลียวภายใน 4 คู่ คู่สายในสายคู่ตีเกลียวไม่หุ้มฉนวนคล้ายสายโทรศัพท์ มีหลายเส้นซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีสีแตกต่างกัน และตลอดทั้งสายนั้นจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก (Plastic Cover) ปัจจุบันเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและติดตั้งได้ง่าย แสดงดังรูป
 
ข้อดีของสาย UTP
- ราคาถูก
- ติดตั้งง่ายเนื่องจากน้ำหนักเบา
- มีความยืดหยุ่น และสามารถโค้งงอได้มาก
ข้อเสียของสาย UTP
- ไม่เหมาะในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ห่างไกล มาก เพราะสัญญาณที่วิ่งบนสายจะถูกลดทอนลงไปตามความยาวของสาย (มีความยาวของสายในการเชื่อมต่อได้ไม่เกิน 100 เมตร)

2.สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)
สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมาก ขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก
 
ข้อดีของสาย STP- ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
- ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ
ข้อเสียของสาย STP - มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
- ราคาแพงกว่าสาย UTP

สายโคแอซ์ก (coaxial cable) มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก นิยมใช้เป็นช่องสื่อสารเชื่อมโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน สายโคแอกซ์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลดิจิทัล และชนิด 75 โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอะนาล็อก
 
สายใยแก้วนำแสง (fiber optic cable) หรือเส้นใยนำแสง แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสนิกขนาดเล็กภายในกลวง หลายๆ เส้น อยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ เส้นใยแต่ละเส้นห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งจะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้น และอาศัยหลักการหักเหของแสง โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพ กราฟิก เสียง หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน แต่ยังมีข้อเสีย เนื่องจากการบิดงอของสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้เดินทางตามมุมตึกได้ สายใยแก้ว นำแสง มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง
 

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย
เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณซึ่งสามารถแบ่งตามช่วงความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ 4 ชนิด ดังนี้

1.อินฟราเรด (infrared) เป็นลักษณะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ๆ ในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ โดยต้องใช้วิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่เกิน 1-2 เมตร ความเร็วประมาณ 4-16 เมกะบิตต่อวินาที เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังโทรทัศน์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่องโดยผ่านพอร์ตไออาร์ดีเอ เป็นต้น
 

2.คลื่นวิทยุ (radio frequency) ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกะบิตต่อวินาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) เอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM) การสื่อสารโดยใช้ระบบไร้สาย (Wi-Fi) และบลูทูท
 
3.ไมโครเวฟ (microwave) จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศ พร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานนีที่ทำหน้าทีส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานี จนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูง เช่น ดาดฟ้าของตึกสูง ยอดเขา เป็นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการชนสิ่งกีดขวางในแนวการเดินทางของสัญญาณ เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร
 


4.ดาวเทียม (satellite) เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนท้องฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก เพื่อใช้เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลกซึ่งจะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งกับที่ขณะโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ
 

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
1. ความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาที จะทำให้สามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลาเพียง 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบข้อมูล หากมีข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
4. ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น เช่น การใช้อีเมล์ส่งข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การใช้งานโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
5. สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่าย ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน ไม่ต้องเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน กระจัดกระจายกันไปในคอมพิวเตอร์ทุกแผนก ซึ่งจะมีประโยชน์มากในกรณีที่ข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงก็สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากส่วนกลางได้ทันที
6. การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์นั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่าย แต่สามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในระบบ เช่น สามารถให้เครื่องพิมพ์ตัวเดียว ซึ่งต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายรับคำสั่งในการพิมพ์งานจากทุกๆ เครื่องในเครือข่ายได้ทันที เป็นต้น

7. การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มงานเดียวกันได้เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือในระบบงานเอกสารชนิดหนึ่งอาจจะต้องผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตัวเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูลของเอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่ายทำขั้นตอนต่อไป เป็นต้น
ที่มา http://kaw-chanatta.blogspot.com/2013/12/blog-post_13.html

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

ประเภทของซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE เป็นต้น โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating Systems : OS) หรือ Supervisory Programs หรือ Monitors Programs เป็นโปรแกรมที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งและมีความสลับซับซ้อนมาก ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถควบคุม (Control) การปฏิบัติงานของเครื่องได้เองโดยอัตโนมัติ และดูแลตรวจตราทุก ๆ การทำงานของฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่เปิดเครื่องจนกระทั่งปิดเครื่อง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์ ประเภทของโปรแกรมระบบ (System Software) 1) โปรแกรมที่ทำงานทางด้านควบคุม (Control Programs) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ ได้แก่ - Supervisor การจัดการทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ จะอยู่ภายใต้ ความควบคุมของ Supervisor ซึ่งอยู่ในหน่วยความจำหลักในซีพียูและทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนอื่น ๆ ของโปรแกรมควบคุมระบบ เมื่อใดที่โปรแกรมภายใต้ระบบปฏิบัติการถูกเรียกมาใช้งาน Supervisor จะส่งการควบคุมไปยังโปรแกรมนั้น เมื่อการทำงานสิ้นสุดลง โปรแกรมดังกล่าวจะส่งการควบคุมกลับมายัง Supervisor อีกครั้ง - โปรแกรมควบคุมงานด้านอื่น ๆ (Other Job/Resource Control Programs) ได้แก่ โปรแกรมที่ควบคุมเกี่ยวกับลำดับงาน ความผิดพลาดที่ทำให้การหยุดชะงักของโปรแกรม (Interrupt) หรือพิมพ์ข้อความหรือข่าวสารให้แก่ผู้ควบคุมเครื่องทราบเมื่อมีข้อผิดพลาด หรือต้องการแจ้งให้ทราบถึงสถานภาพของอุปกรณ์รับส่ง เป็นต้น 2) ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating System) จะมี ลักษณะเฉพาะโดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ โปรแกรมสำเร็จรูปไม่สามารถใช้ข้ามระบบปฏิบัติการได้ เช่น โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้บนระบบปฏิบัติการ MS - DOS จะไม่สามารถนำไปใช้บน Windows ได้ ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ 2.1 MS - DOS (Microsoft Disk Operating System) เป็นโปรแกรมควบคุมระบบปฏิบัติการ พัฒนาในช่วงปีค.ศ. 1980 จากบริษัท Microsoft พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับงานเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Microprocessor รุ่น 8086, 8088, 80286, 80386, 80486 สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ IBM Compatible ทั่วไป มี 2 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ PC-DOS และ MS-DOS ดอสเป็นระบบปฏิบัติการที่มีส่วนประสานกับผู้ใช้ (User Interface) เป็นแบบป้อนคำสั่ง (Command - line User Interface) MS - DOS นั้นจะมีส่วนประกอบโปรแกรม 3 ส่วน คือ IO.SYS MS - DOS.SYS และ COMMAND.COM ทั้ง 3 โปรแกรมจะทำหน้าที่ในการจัดการทำงานทุกอย่างในระบบ สำหรับ MS - DOS.SYS และ IO.SYS นั้นเป็นไฟล์ระบบและถูกซ่อนไว้ในขณะที่เราสั่งงาน IO.SYS เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ป้อนเข้า (Input Device) และอุปกรณ์แสดงผล (Output Device) เช่น แป้นพิมพ์ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น MS - DOS.SYS เป็นส่วนที่ใช้ในการเข้าถึง (Access) โปรแกรมย่อย (Routine) ต่าง ๆ ของดอส เมื่อโปรแกรมมีการเรียกใช้รูทีนเหล่านั้น ตัว MS - DOS.SYS จะรับข้อมูลต่าง ๆ จากโปรแกรมต่าง ๆ ผ่านจากรีจิสเตอร์ทำการควบคุมการทำงาน (Control Block) และจัดพารามิเตอร์ในการเรียกใช้ IO.SYS ให้ทำงานตามที่ต้องการ COMMAND.COM ทำหน้าที่เป็นตัวประสาน คอยรับคำสั่งจากผู้ใช้ผ่านทางแป้นพิมพ์ เพื่อส่งผ่านคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนตัวเชื่อมผู้ใช้กับโปรแกรมจัดระบบ คำสั่งในระบบ MS - DOS จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ - คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่มีอยู่แล้วภายในระบบ เช่น คำสั่ง DIR (Directory) เป็นการเรียกข้อมูลจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ขึ้นมาดูเพื่อค้นหาแฟ้มข้อมูล คำสั่ง COPY เป็นการสำรองข้อมูลไว้ REN (Rename) เป็นการเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูลโดยที่ข้อมูลภายในยังคงเหมือนเดิม คำสั่ง TYPE เป็นการเรียกดูรายละเอียดของข้อมูลแต่ละแฟ้มขึ้นมาดู แต่แฟ้มนั้นจะต้องอยู่ในรูปของข้อความ (Text File) และคำสั่ง CLS (Clear) เป็นคำสั่งลบข้อความบนจอภาพ โดยที่ข้อมูลที่อยู่ภายในแฟ้มจะไม่หาย เป็นต้น - คำสั่งภายนอก (External Command) คำสั่งประเภทนี้ต้องเรียกใช้จากแผ่นโปรแกรมหรือจากหน่วยความจำสำรองที่ได้สร้างเก็บคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้ไว้หากไม่มีก็จะไม่สามารถเรียกคำสั่งขึ้นมาใช้ได้ เช่น คำสั่ง CHKDSK (Check Disk) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบหน่วยเก็บข้อมูลสำรองว่ามีพื้นที่ในการเก็บเท่าใด ใช้ไปเท่าใด คงเหลือเท่าใด และมีส่วนหนึ่งส่วนใดของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเสียหรือไม่ - คำสั่ง FORMAT เป็นการจัดเตรียมโครงสร้างภายในแผ่นหรือจานแผ่นเหล็ก เป็นการวิเคราะห์แผ่นจานแม่เหล็กสำหรับตำแหน่ง (Track) ที่เสีย 2.2 Windows 3.X ประมาณต้นปี ค.ศ. 1990 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 3.0 ซึ่งนำมาใช้การทำงานระบบกราฟิกเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานง่ายและสะดวกเรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยใช้ภาพเล็ก ๆ เรียกว่า ไอคอน (Icon) และใช้เมาส์ (Mouse) แทนคีย์บอร์ด (Key Board) นอกจากนี้ Windows 3.0 ขึ้นไป ยังสามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานโปรแกรมได้มากกว่าหนึ่งโปรแกรมในขณะเดียวกันเรียกว่า Multitasking ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows ขึ้นมามี 3 เวอร์ชัน (Version) ได้แก่ Windows 3.0, Windows 3.1 และ Windows 3.11 2.3 Windows 95 ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต Windows 95 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานแบบหลายงาน (Multitasking) การทำงานในลักษณะเครือข่าย (Network) Windows 95 มีคุณลักษณะเด่น ดังนี้ - มีระบบติดต่อกับผู้ใช้โดยแสดงเป็นกราฟิก (Graphical User Interface :GUI) - มีความสามารถในการเปิดเอกสารได้ครั้งละหลายไฟล์ และสามารถใช้โปรแกรมหลาย โปรแกรมในเวลาเดียวกัน - มีโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่ง เรียกว่า Word Pad โปรแกรมวาดรูป และเกม - เริ่มมีเทคโนโลยี Plug and Play และสนับสนุนการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยติดตั้ง Windows 95 ไม่จำเป็นต้องติดตั้งที่ MS-DOS ก่อน แต่สามารถใช้งานร่วมกับ MS-DOS ได้ - สามารถใช้แอปพลิเคชันที่รันบน Windows 3.1 ได้เลยโดยไม่ต้องแก้ไข และซอฟต์แวร์ที่รันบน Windows 95 มีความสามารถส่ง Fax และ E - mail ได้ 2.4 Windows 98 เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ Windows 95 ระบบปฏิบัติการ Windows 98 เป็นระบบที่สนับสนุนการทำงานของโปรแกรมต่าง ๆ บน Windows โดยเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ 2.5 Windows Millennium Edition หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "Windows ME" ใน เวอร์ชันนี้พัฒนามาจาก Windows 98 เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเวอร์ชันเก่า มีการสนับสนุนการทำงานแบบมัลติมีเดียมากขึ้น 2.6 Windows NT เป็นระบบปฏิบัติการในส่วนของเครือข่าย (Network) คล้าย กับ Windows 95 พัฒนามาจาก LAN Manager และ Windows for Workgroup โดย Windows NT มี 2 เวอร์ชัน ได้แก่ Windows NT Server และ Windows NT Workstation โดยที่ Server จะทำหน้าที่ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยให้บริการแก่เครื่องที่เป็น Workstation คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ Windows NT ได้แก่ ทำงานได้ในลักษณะหลายงานพร้อมกัน สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผล (CPU) มากกว่า 2 โปรเซสเซอร์ สามารถสร้างระบบแฟ้มของตนเองเป็นแบบ NTFS ซึ่งแต่เดิมจะเป็นแบบ FAT (File Allocation Table) เพียงอย่างเดียว มีระบบป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลโดยสร้างรหัสผ่านให้กับผู้ใช้แต่ละคน และ สามารถกำหนดวันเวลาในการใช้งาน เป็นต้น 2.7 Windows 2000 Professional / Standard เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการ พัฒนาให้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ที่ใช้งานลักษณะเป็นกราฟิก เช่น มีโปรแกรม Windows Installation Service ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการติดตั้งหรืออัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมได้ง่ายและมีการจัดการระบบตลอดจนมีการบริหารแม่ขายแบบรวมศูนย์ เหมาะสำหรับใช้ในงานสำนักงานมากกว่าที่จะใช้ที่บ้าน จุดเด่นของ Windows 2000 คือ การต่อเชื่อมระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงและสนับสนุน Multi Language 2.8 Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งในด้านการ ทำงานร่วมกับ Internet Explorer 6 และ Microsoft Web Browser Windows XP มี 2 รูปแบบด้วยกัน คือ Windows XP Home Edition และ Windows XP Professional Edition 2.9 Mac OS X ระบบปฏิบัติการ Macintosh Operating System เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing) 2.10 OS/2 Warp Client พัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท IBM ได้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ PS/2 ข้าสู่ตลาดก็ได้ติดต่อบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่เป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องลูกข่าย สามารถทำงานแบบการทำงานหลายงาน (Multitasking) ได้ มีลักษณะการทำงานแบบดอสมากกว่า Windows สนับสนุนการทำงานแบบเครือข่าย มีขีดความสามารถติดต่อกับผู้ใช้แบบกราฟิกแต่ OS/2 ที่ผลิตออกมาในขณะนั้นไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้หน่วยความจำขนาดใหญ่ และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับ OS/2 ก็มีน้อย 2.11 UNIX เป็นระบบปฏิบัติการที่ใหญ่ สามารถใช้งานในลักษณะการทำงาน หลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) และเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ (Multi-User) คือ มีผู้ใช้หลาย ๆ คนพร้อมกัน เป็นระบบที่พัฒนามาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์และเวิร์กสเตชั่น (Workstation) เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ธรรมดา ๆ ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการ UNIX สามารถทำงานรองรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี User ต่อเชื่อมเข้ามาได้มากถึง 120 ตัว ไปพร้อม ๆ กันและเหมาะสมสำหรับระบบเน็ตเวิร์ก (Network) นอกจากนั้นยังสามารถเคลื่อนย้ายงานและแอพพลิเคชั่นไปมาระหว่างแพลทฟอร์มได้ และสามารถย้ายงานที่รันอยู่บน DOS หรือ Windows มาใช้บนระบบปฏิบัติการ UNIX ได้ นอกจากนี้ยังมียูทิลิตี้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ UNIX อีกด้วย 2.12 LINUX เป็นระบบปฏิบัติการที่มีลักษณะคล้ายกับ UNIX พัฒนาขึ้นมาเพื่อ แจกจ่ายให้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และพัฒนาขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ทะเล (Linux TLE) เกิดขึ้น เนื่องจากระบบปฏิบัติการลินุกซ์หลายค่ายจากต่างประเทศยังใช้งานภาษาไทยได้ไม่ดีเท่าที่ควร และการติดตั้งภาษาไทยก็ยุ่งยากพอสมควร จึงเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำลินุกซ์มาใช้งาน จากปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ซึ่งมีราคาสูง ทำให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ตั้งทีมออกแบบพัฒนาให้ใช้งานภาษาไทยและสามารถนำมาใช้งานแทน Windows ได้ ให้ชื่อว่า Linux TLE (Thai Language Extension) หรือ ลินุกซ์ทะเล และเป็นการพัฒนาโดยคนไทยซึ่งต้องการพัฒนาซอฟต์แวร์กลางที่มีภาษาไทยเสริม ภายใต้มาตรฐานสากล TLE จึงเป็นตัวแทนของจุดประสงค์ของการพัฒนา และแสดงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ให้สอดคล้องกับที่มาและสามารถเข้าใจได้ในเวทีสากล ลินุกซ์ทะเลได้พัฒนาระบบภาษาไทยให้ใช้งานได้ดีถึง 100% มีระบบการตัดคำที่อ้างอิงจากดิกชันนารี เพิ่มฟอนต์ภาษาไทยประเภทบิตแมปอีก 20 ฟอนต์ รวมทั้งฟอนต์แบบ True - Type สนับสนุนมาตรฐาน TIS620 เป็นฟอนต์ไทยซึ่งทาง NECTEC ได้จดลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 2.13 Solaris Solaris เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ UNIX พัฒนาโดยบริษัท Sun Microsystems เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ออกแบบสำหรับงานด้านโปรแกรม E - commerce 3) ระบบปฏิบัติการสามารถแบ่งออกตามลักษณะการทำงาน ได้ดังนี้ 3.1 ระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Stand - alone เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือโน๊ตบุ๊ค ที่ทำงานโดยไม่มี การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น หรือหากมีการเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น LAN หรือ Internet ก็จะเรียกระบบปฏิบัติการนี้ว่า "Client Operating System" ได้แก่ MS - DOS, MS - Windows ME, Windows server 2000, Windows XP, Windows NT, Windows server 2003, UNIX, LINUX, Mac OS, OS/2 Warp Client 3.2 ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่มาพร้อมกับคอมพิวเตอร์ จัดเก็บไว้บนชิพ ROM ของเครื่องมี คุณสมบัติพิเศษ คือ ใช้หน่วยความจำน้อยและสามารถป้อนข้อมูลโดยใช้ สไตล์ลัส (Stylus) ซึ่งเป็นแท่งพลาสติกใช้เขียนตัวอักษรลงบนจอภาพได้ ตัวระบบปฏิบัติการจะมีคุณสมบัติวิเคราะห์ลายมือเขียน (Hand Writing Recognition) และทำการแปลงเป็นตัวอักษรเข้าสู่ระบบได้อย่างถูกต้องพบได้ในคอมพิวเตอร์แบบ Hand Held เช่น Palm Top, Pocket PC เป็นต้น ระบบปฏิบัติการชนิดนี้ได้รับความนิยม คือ Windows CE, Pocket PC 2002 และ Palm OS เป็นต้น 3.3 ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบเพื่อจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้ สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับระบบปฏิบัติการดอส จะแตกต่างในส่วนของการเพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบป้องกันการสูญหายของข้อมูล ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลแอนด์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) คือ การจัดการเรียกใช้ข้อมูลและโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลแอนด์ เช่น การประมวลผล และการติดต่อกับผู้ใช้ 3.4 ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ โดยนำมาใช้ในด้านธุรกิจและการศึกษา ซึ่งจะมีผู้ใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก โดยต้องทำการดูแลสั่งงานโปรแกรมพร้อม กันจำนวนหลาย ๆ โปรแกรม (Multitasking) การเข้าใช้งานเครื่องของผู้ใช้จำนวนหลาย ๆ คน (Multi - User) การจัดลำดับและแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ใช้ ตลอดจนการรักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของผู้ใช้แต่ละคน 3.5 ระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Operating System) สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องต่าง ๆ กันได้ เช่น ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Selecting a Microcomputer Operating System) เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานออกแบบ หรืองานทางด้านบัญชี และมีจำนวนผู้ใช้กี่คน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ ร่วมกันหรือไม่ ผู้ใช้แต่ละคนอยู่ที่เดียวกันหรืออยู่คนละแห่ง ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะตัวประมวลผล ขนาดความจุของหน่วยความจำ โปรแกรมประยุกต์ที่มีใช้อยู่เดิมใช้กับระบบปฏิบัติการชนิดไหน ต้นทุนในการจัดหาระบบปฏิบัติว่ามีมากน้อยเท่าไร และความสามารถในการให้บริการหลังการขายของผู้จัดจำหน่าย ซึ่งแต่ละปัจจัยก็มีผลต่อการตัดสินใจจัดหาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เหมาะสมกับองค์การ และงบประมาณที่มี ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่าง หรือเฉพาะด้าน ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) มี 2 ประเภท คือ 2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไปหรือซอฟต์แวร์สำเร็จรูป - ซอฟต์แวร์เกี่ยวกับระบบจัดการ - ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ - ซอฟต์แวร์กระดานคำนวณ - ซอฟต์แวร์จัดการข้อมูลด้านงานธุรกิจ - ซอฟต์แวร์นำเสนอ (Presentation Software) - ซอฟต์แวร์เพื่อการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล 2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็นโปรแกรมที่ผลิตขึ้นมาเพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และไม่สามารถทำงานอื่นได้ เช่น โปรแกรมระบบบัญชี โปรแกรมช่วยงานอุตสาหกรรม เป็นต้น โปรแกรมภาษา (Language Software) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่จะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานนั้นถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่เรียกว่า "ภาษาคอมพิวเตอร์" ผู้เขียนโปรแกรม (Programmer) จะต้องเข้าใจถึงกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ของคำสั่ง และวิธีการเขียนโปรแกรมของ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้เขียนโปรแกรม ปัจจุบันภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับเขียนโปรแกรมมีอยู่มากมายหลายภาษา เช่น Basic, C, C++, Java เป็นต้น โปรแกรมภาษาสามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ 1) ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยมีโครงสร้างและพื้นฐานเป็นเลขฐาน 2 และตัวสตริง (Strings) ซึ่งเครื่องสามารถเข้าใจและพร้อมที่จะทำงานตามคำสั่งได้ในทันที ไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมแปลภาษา คำสั่งของภาษาเครื่องนั้นจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ 1.1 ส่วนที่บอกประเภทของคำสั่ง (Operation Code หรือ Op-Code) เป็นส่วนที่ จะบอกให้เครื่องประมวลผล เช่น ให้ทำการบวก ลบ คูณ หาร หรือเปรียบเทียบ เป็นต้น 1.2 ส่วนที่บอกตำแหน่งของข้อมูล (Operand) เป็นส่วนที่บอกให้ทราบถึง ตำแหน่งหน่วยของข้อมูลที่จะนำมาคำนวณว่าอยู่ในตำแหน่ง (Address) ใดของหน่วยความจำ 2) ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Language) ได้ปรับปรุงให้ง่ายขึ้นโดยสร้างรหัส (Mnemonic Code) และสัญลักษณ์ (Symbol) แทนตัวเลขซึ่งเรียกชื่อภาษาว่า ภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ ลักษณะโครงสร้างของภาษาสัญลักษณ์จะใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากคือ ประกอบด้วย 2 ส่วนที่เรียกว่า Op - Code และ Operands โดยใช้อักษรที่มีความหมายและเข้าใจง่ายแทนตัวเลข 3) ภาษาระดับสูง (High - Level Language) เนื่องจากภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ยังคงยากต่อการเข้าใจของมนุษย์ ประกอบกับความเจริญทางด้านซอฟต์แวร์มีมากขึ้น จึงได้มีการพัฒนาให้เป็นคำสั่งที่มีความหมายเหมือนกับภาษาที่มนุษย์ใช้กัน เพื่อให้สะดวกกับผู้เขียนโปรแกรม เช่น ใช้คำว่า PRINT หรือ WRITE แทนการสั่งพิมพ์ หรือแสดงคำว่าใช้คำว่า READ แทนการรับค่าข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ภาษาระดับสูง ตัวอย่างเช่น Visual Basic, C, C++, Java เป็นต้น - คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมภาษาซึ่งทำหน้าที่แปลคำสั่งในโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูง ตามลำดับของชุดคำสั่ง และข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถปฏิบัติการได้ - อินเทอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมภาษาซึ่งทำหน้าที่แปลคำสั่งในโปรแกรมต้นฉบับที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมระดับสูง และปฏิบัติการตามคำสั่งโดยตรงจากโปรแกรมต้นฉบับทันที จะแปลคำสั่งครั้งละหนึ่งคำสั่ง แล้วประมวลผลในทันที หลังจากนั้น จะรับคำสั่งถัดไปเพื่อแปลเป็นภาษาเครื่อง แล้วประมวลผลทันที เช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะจบโปรแกรม หรือพบที่ผิดพลาดทางไวยากรณ์ในคำสั่งที่รับมาแปล Windows คืออะไร Windows คือ ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่ง (operating system) สร้างขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เนื่องจากความยากในการใช้งานดอสทำให้บริษัทไมโครซอฟต์ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Windows ที่มีลักษณะเป็น GUI (Graphic-User Interface) ที่นำรูปแบบของสัญลักษณ์ภาพกราฟิกเข้ามาแทนการป้อนคำสั่งทีละบรรทัด ซึ่งใกล้เคียงกับแมคอินทอชโอเอส เพื่อให้การใช้งานดอสทำได้ง่ายขึ้น แต่วินโดวส์จะยังไม่ใช่ระบบปฏิบัติการจริง ๆ เนื่องจากมันจะทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของดอสอีกที กล่าวคือจะต้องมีการติดตั้งดอสก่อนที่จะติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows และผู้ใช้จะสามารถเรียกใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดอสได้โดยผ่านทางWindows ซึ่ง Windows จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส ระบบปฏิบัติการ windows ใช้หลักการแบ่งงานเป็นส่วน เรียกว่า หน้าต่างงาน (windows) ที่แสดงผลลัพธ์แต่ละโปรแกรม ปัจจุบันมีการผลิตและจำหน่ายหลายรุ่น เช่น Windows XP , Windows Vista, Windows 7 ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น การนำลีนุกซ์มาใช้งาน ปัจจุบันได้มีการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปประยุกต์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานด้านต่างๆเช่นงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็นสถานีงาน สถานีบริการ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือใช้ใน การเรียนการสอนและการทำงิจัยทางคอมพิวเตอร์ใช้พัฒนาโปรแกรมเนื่องจาก มีเครื่องมือมากมาย เช่น โปรแกรมภาษาซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) ปาสคาล (Pascal) ฟอร์แทรน (Fortran) ลิสป์ (Lisp) โปรล็อก (Prolog) เอดา (ADA) มีภาษาสคริปต์ เช่น เชลล์ (Shell) บาสช์เชลล์ (Bash Shell) ซีเชลล์ (C Shell) คอร์นเชลล์ (Korn Shell) เพิร์ล (Perl) พายตัน (python) TCL/TK นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประยุกต์ในสาขาต่างๆ อีกมากมาย โดยข้อมูลของโปรแกรมเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ที่ Linux Software Map (LSM) Unix คืออะไร ? อุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ก็มีมากมายหลายชิ้นแต่เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่าเจ้าคอมพิวเตอร์ รู้จักอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างไรและติดต่อรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่ างไรการท่ จะทำให้คอมพิวเตอร์ใช้อุปกรณ์ เหล่านี้ร่วมกันทำงานได้ก็จะต้องมีอะไรสักอย่างหนึ่งมาดูแลควบคุมใช่ไหม?สิ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ อุปกรณ์ทั้งหมดที่รวมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือ"ระบบปฏิบัติการ"(Operating System) หรือที่เราเรียกกันสั้นๆ ว่ า โอเอส (OS)เจ้าตัวระบบปฏิบัติการที่ว่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆเท่านั้นแต่มันยังมีหน้าที่ รับคำสั่งที่ป้อนจากผู้ใช้มาแปลเพื่อสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการอีกด้วยในปัจจุบันมีระบบปฏิบัติการ มากมายหลายชนิดหลายระบบให้เลือกใช้ตามความต้องการของแต่ละบุคคล หรือ หน่วยงานเช่น ดอส (DOS) วินโดว์ส (WINDOWS)โอเอส/ทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX) เป็นต้น ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทหนึ่ง ที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system)ซี่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติด กับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานใน ลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคน ในเวลาเดียวกัน เรียกว่า มัลติยูสเซอร์ (multiusers)และสามารถทำงานได้หลายๆงานใน เวลาเดียว กันในลักษณะที่เรียกว่ามัลติทาสกิ้ง (multitasking) การเข้าใช้งานยูนิกซ์ การที่ผู้ใช้จะขอใช้บริการบนระบบยูนิกซ์ได้นั้นจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบหรือที่เรียกว่าซิสเตมแอดมินิสเตรเตอร์ (System Administrator) ก่อน หลังจากนั้นผู้ใช้จะได้รับรายชื่อผ ู้ใช้หรือล๊อกอินเนม (login name) และรหัสผ่าน (password) มา แต่บางระบบ จะมีรายชื่ออิสระเพื่อให้ผู้ใช้ชั่วคราว โดยอาจมีล๊อกอินเนมเป็น guest,demo หรือ fieldซึ่งจะไม่ต้องใช้รหัสผ่าน การเข้าใช้ระบบเราเรีนกว่า ล๊อกอิน (login) โดยทั่วไปเมื่อระบบพร้อมที่จะให้บริการจะปรากฏข้อความว่า login:หรือข้อความใน ลักษณะที่คล้ายๆ กันรวมเรียกว่า พรอมต์ล๊อกอิน (Prompt log in)เมื่อปรากฏหรอมต์แล้วก็ให้พิมพ์ล๊อกอินเนมของผู้ใช ตามด้วย การกดปุ่มจากนั้นระบบจะสอบถามรหัสผ่าน ก็พิมพ์รหัสที่ถูกต้องลงไปตามด้วยปุ่มซึ่งรหัสผ่านที่พิมพ์ลงไปจะไม่ถูกแสดงผลออก ทางจอภาพเมื่อรหัสผ่านถูกต้องก็จะปรากฏเครื่องหมาย $ ซึ่งเป็นเครื่องหมายเตรียมพร้อมของระบบ Mac OS X นั้นคือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ของแอปเปิ้ลที่มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่างๆ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งภายในเครื่อง ตลอดจนเป็นตัวกลางในการติดต่อกับผู้ใช้ ซึ่งระบบปฏิบัติการในเครื่องพีซีอื่นๆ ที่ไม่ใช่แมคมีหลายตัว เช่น Window XP , Windows 7 , Windows 8, Linux เป็นต้น Mac OS X เวอร์ชันแรกนั้นมีให้เห็นในปี 2001 และถูกพัฒนามาอีกหลายเวอร์ชันและเวอร์ชั่นล่าสุด (สิงหาคม 2556) คือ Mac OS X 10.8 หรือที่เรียกว่า Mac OS X Mountain Lion แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยGoogle และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางGoogleได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้น แอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีโทรศัพท์เครื่องแรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication ไอโอเอส (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล (บริษัท) เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 900,000 แอปพลิเคชัน และ 375,000 ที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 21% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน 2012 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบาๆ (tap), การนำนิ้วสองนิ้วบีบเขาหาศูนย์กลาง (pinch), การนำนิ้วสองนิ้วกางออกจากศูนย์กลาง (reverse pinch) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่างๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอพพริเคชั่นเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ ไอโอเอสมีต้นกำเนิดมาจากแมคโอเอสเท็นซึ่งได้รากฐานมาจากดาร์วินและแอพพริเคชั่นเฟรมเวริค์ต่างๆ ไอโอเอสคือรุ่นพกพาของแมคโอเอสเท็นที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ของแอปเปิล รุ่นหลักของไอโอเอสจะมีการเปิดตัวทุกๆ ปี ในปัจจุบันได้มีการปล่อยตัวไอโอเอส 7 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในวันที่ 18 กันยายน ปี 2013 Symbian คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ช่วยในการส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก เป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง ช่วยประหยัดพลังงาน และใช้หน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก เพื่อรองรับกับโทรศัพท์มือถือทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้่ผู้ใช้ หรือนักพัฒนาทั่วไปสามารถพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ บนระบบปฏิบัติการ Symbian ได้ เรียกได้ว่าในอนาคตจะมีแอพพลิเคชั่นมากมายที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบปฏิบัติการ Symbian และยังส่งผลให้เป็นตลาดผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต วินโดวส์โฟน เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล[3] แม้ว่าจะขัดกับมัน[4] มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร[5] เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011[6] เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของ ไมโครซอฟท์[7]
อ้างอิงจาก http://www.comsimple.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/181-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html,http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2124-windows-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html,https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/linux/,https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/unix/,http://www.mactyro.com/mac-os-x/,http://bosscs55.blogspot.com/,http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA,http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/289-symbian-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html,http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99